วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

Pi day (วันค่าพาย)

Pi Day(วันค่าพาย)

วันค่าพาย(Pi Day)หรือ วันค่าประมาณของพาย (Pi Approximation Day )เป็น 2 วันหยุดที่ถือว่าเป็นการฉลองค่าคงที่คณิตศาสตร์ หรือค่าพาย(ใน เดือน/วัน คือ 3/14) เพราะว่า 3 1 และ 4 เป็นสามค่าหลักแรกของค่าพาย อีกทั้งวันที่ 14 มีนาคมยังเป็นวันเกิดของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) และสองเหตุการณ์นี้บางครั้งมักจะถูกฉลองร่วมกัน

วันค่าโดยประมาณของพายนั้นยังถูกจับตามองในวันที่ 22 กรกฎาคม เพราะว่าเป็นค่าโดยประมาณที่นิยมของพายคือ 22/7 (อ่านว่า ยี่สิบสองส่วนเจ็ด)ที่อาร์คิมิดิสคำนวนไว้ อย่างไรก็ตามบางทีค่านี้มักถูกเลือกจากความเข้าใจผิดเนื่องจากอ้างวันที่ให้เป็น”วันค่าโดยประมาณ”(เพราะว่าพายคือจำนวนอตรรกยะ) และค่า 22/7 ตามความเป็นจริงแล้วนั้นใกล้เคียงค่าพายโดยประมาณกว่า 3.14 โดยปกติ มีนาคม 14 เป็นที่นิยมในประเทศที่ใช้รูปแบบวันที่ “เดือน/วัน/ปี” และวันที่ 22 กรกฎาคม เป็นที่นิยมในประเทศที่ใช้รูปแบบวันที่ “วัน/เดือน/ปี”

บางครั้งค่านาทีพายจะถูกฉลอง สิ่งนี้จะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม วันที่ 14 เวลา 1.59 น. ถ้าต้องการต่อยอดให้มีค่าทศนิยมเจ็ดตำแหน่ง มันจะมีค่าเท่ากับ 3.1415926 มาจากเลข เดือน 3 วันที่ 14 เวลา 1:59:26 น. คือค่าวินาทีพาย(หรือบางครั้งจะนับโดย เดือน 3 วันที่ 14 ปี 1592 เวลา 6:53:58 น. เท่ากับค่าพาย 3.14159265358…) มีหลากหลายวิธีมากในการเฉลิมฉลองวันค่าพายและวิธีที่ทำกันโดยมากคือการกินพาย(ขนมอบชนิดหนึ่งที่พ้องเสียงกับคำว่า พาย)และพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องสัญลักษณ์พาย วันค่าพายถูกจัดครั้งแรกที่พิพิธภัณฑ์สำรวจซานฟรานซิสโกในปี 1988 โดยเจ้าหน้าที่และประชาชนเดินขบวณล้อมรอบเป็นวงกลมจากนั้นก็บริโภคพายผลไม้ ภายหลังทางพิพิธภัณฑ์ได้เพิ่มพิซซ่าเข้าเป็นเมนูในวันค่าพายด้วย ผู้ก่อตั้งวันค่าพายคือ แลรี่ ชอว์ ปัจจุบันเกษียณออกจากการเป็นนักฟิสิกส์ที่พิพิธภัณฑ์สำรวจและเป็นผู้ที่สนับสนุนการจัดงานฉลอง



ที่มา:http://en.wikipedia.org/wiki/Pi_Day



หลังจากที่นั่งแปลอย่างหยาบๆที่สุดเพราะความรู้ด้านหลักภาษาค่อนข้างแย่(และเชื่อได้เลยค่ะว่าต้องแปลผิดแน่ๆในบางประโยค) มากว่าหนึ่งชั่วโมงเต็ม ผลสำเร็จที่ได้ก็ออกมาอย่างที่ทุกท่านเห็นเนี่ยแหละค่ะ เนื้อหาเรานำมาจากเว็บ Wikipedia นะคะ (อันที่จริงมันมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกนิดหน่อยค่ะ แต่แปลไม่ไหวเพราะแปลเองก็นั่งงงเองว่าแปลถูกมั๊ย) อธิบายย่ออีกเล็กน้อยก็คือว่า ในวันค่าพายจะมีการเฉลิมฉลองการเกิดขึ้นของค่าพายน่ะค่ะ แต่เนื่องจากเป็นนักคณิตศาสตร์ก็คงต้องเเนวๆคณิตศาสตร์ไว้ก่อน จึงมีการเอาค่าพายซึ่งก็คือ 3.14 โดยประมาณมาตั้งเป็นวันเฉลิมฉลองค่าพายน่ะค่ะ

ในวันนี้จากประสบการณ์ที่รุ่นพี่ท่านหนึ่งเคยเล่าให้ฟังว่า ในวันค่าพาย(แล้วแต่ท้องที่ว่าจัดเมื่อไหร่) จะจัดงานเลี้ยงกันเล็กๆน้อยๆที่ภายในงานจะมีแค่พายหลากหลายชนิดเเละเครื่องดื่ม จากนั้นก็เป็นการพบปะสังสรรค์ระหว่างนักคณิตศาสตร์หรือนักฟิสิกส์มานั่งพูดคุยกันเรื่องพายกันน่ะค่ะ ซึ่งเราเองสนใจอย่างเดียวคือ กินพาย เราล่ะอยากเข้าร่วมงานเลี้ยงนี้มากๆเลยล่ะค่ะ นั่งฟังนักเรียนหัวกะทินั่งคุยกันค่อยๆเก็บเกี่ยวความรู้ไปเรื่อยๆพร้อมกับถือจานใส่พายอร่อยๆและกินไปด้วย โอ้! มันต้องน่าสนุกมากๆแน่เลยล่ะค่ะ เสียดายที่เมืองไทยไม่มีใครจัดให้เห็นเลย ถ้าจะจัดก็ใช้พิซซ่าแทนได้นะคะ มันเป็นวงกลมเหมือนกันค่ะ แต่อย่างไรก็ตามนะคะ มีเว็บมากมายที่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกันค่ะ ลองสำรวจดูด้านล่างนะคะ เผื่อท่านไหนสนใจลองติดตามดูได้ค่ะ

แหล่งข้อมูลอื่นๆ


http://gotoknow.org/blog/sombhop/343950
http://www.tikanaht.com/doodle-pi-day/
http://en.wikipedia.org/wiki/Pi_Day
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2
http://it.wikipedia.org/wiki/Giorno_di_pi_greco
http://fr.wikipedia.org/wiki/Journ%C3%A9e_de_pi
http://www.exploratorium.edu/pi
http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=97&post_id=81565&title=%C1%D2%C3%D9%E9%A8%D1%A1%C7%D1%B9%BE%D2%C2-%28Pi-Day%29-%A1%D1%B9%E0%B6%CD%D0-
http://pantip.com/cafe/wahkor/topic/X8983004/X8983004.html
http://www.pidayinternational.org/a894046-just-in-time-for-pi-day.cfm



Did you know?
This year's Pi Day is also Albert Einstein's 131st birthday.
Happy Birthday, Al!
Toolyada

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น